หลักการลงทุนของ 7 เซียนระดับโลก
หลักการลงทุนของเบนจามิน แกรแฮม
- เน้นวิธีการลงทุนที่ค่อนข้างปลอดภัย ด้วยการประเมิณมูลค่าของหุ้นหรือกิจการที่นักลงทุนจะเข้าซื้อ
- นักลงทุนต้องมองหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ ต้องเข้าใจว่าการเข้าซื้อหุ้นคือการซื้อธุรกิจ อย่ามองหุ้นเป็นการเก็งกำไร คือ หวังแค่ส่วนต่างราคาแล้วขายออกไป นักลงทุนต้องสนใจพื้นฐานของหุ้นที่จะลงทุน
- ต้องใช้เหตุผลในการลงทุน โดยให้ฉวยโอกาสจากความผิดพลาดของตลาด อย่าไปบ้าคลั่งตาม ความผันผวนคือ Mr. market ซึ่งผันผวนและไร้เหตุผล
- จังหวะในการเข้าซื้อต้องคำนึงถึง margin of safety ราคาที่เข้าซื้อต้องต่ำกว่า intrinsic value เพื่อป้องกันความผิดพลาดในสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
หลักการลงทุนของฟิลลิป ฟิชเชอร์
- ถือหุ้นไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นออกมา นอกจากพื้นฐานของกิจการเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีต่อการดำเนินงานในอนาคต หรือเมื่อรู้ตัวว่าวิเคราะห์ผิดพลาดแต่แรก
- การเข้าซื้อทุกครั้งจะต้องมีข้อมูลพร้อม โดยการของข้อมูลจากแหล่งต่างๆเช่นหนังสือพิมพ์ วารสาร รายงานของบริษัท ผู้บริหารและพนักงานของบริษัท เข้าเยี่ยมชมกิจการ
- สินค้าของบริษัทมีศักยภาพในการแข่งขันหรือไม่ บริษัทมีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์มากน้อยเพียงใด
- มีความสามารถในการทำกำไร โดยสามารถรักษากำไรหรือทำให้ดีขึ้นได้ กำไรนั้นสะท้อนถึงโครงสร้างการเงินของบริษัท เช่น ต้นทุน รายรับ รายจ่าย ความสามารถในการลดรายจ่าย การพัฒนากระบวนการผลิต
- บริษัทสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัยเหนือคู่แข่งตลอดเวลา
- พิจารณาผู้บริหารว่ามีความขัดแย้งกันหรือไม่ ประวัติและผลงานในอดีตเป็นอย่างไร
- พอร์คลงทุนให้มุ้งเน้นบริษัทที่ดีที่สุด ไม่ลงทุนกระจายมากเกินไป “ถือหุ้นที่ดีน้อยตัว ดีกว่าถือหุ้นที่ดีน้อยกว่าหลายบริษัท”
หลักการลงทุนของวอเร็น บัฟเฟตต์
- อย่าขาดทุน
- กลับไปอ่านข้อ 1
- ธุรกิจที่ดีอาจจะไม่เป็นการลงทุนที่ดี ขึ้นอยู่กับราคาที่จ่ายเพื่อลงทุน
- มองธุรกิจโดยเน้นไปที่คุณภาพของกิจการ ไม่เน้นเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว ต้องวิเคราะห์ธุรกิจ
- คิดอย่างเป็นตัวของตัวเอง ไม่ตามฝูงชน
- เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน บริหารได้ง่ายไม่ต้องใช้เทคนิคมาก ตัวแปรการทำธุรกิจไม่มาก
- เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมและแบรนด์แข็งแกร่ง ทำให้ลดการแข่งขันด้านราคา และถือว่าเป็น barrier to entry ของคู่แข่งรายใหม่
- มีกระแสเงินสดดี ธุรกิจที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงในการดำเนินงาน และรักษาความสามารถในการแข่งขัน
- มีผู้บริหารที่ซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก
- เวลาในการขายหุ้นคือเมื่อราคาหุ้นสูงเกินมูลค่าไปมาก หรือพื้นฐานะได้เปลี่ยนแปลงไปในทางไม่ดี
หลักการลงทุนของชาร์ลี มังเกอร์
- ให้ค่ากับคุณภาพของธุรกิจมากกว่าราคา
- ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ราคาปานกลาง ดีกว่า ธุรกิจปานกลางราคาที่ยิ่งใหญ่
- ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ราคาปานกลาง ดีกว่า ธุรกิจปานกลางราคาที่ยิ่งใหญ่
- ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ราคาปานกลาง ดีกว่า ธุรกิจปานกลางราคาที่ยิ่งใหญ่
- ซื้อหุ้นของกิจการขนาดใหญ่ในราคาเหมาะสมดีกว่าซื้อหุ้นของกิจการพื้นๆในราคาที่ถูกมาก เนื่องจากมีศักยภาพในการเติบโตที่จำกัด การถือหุ้นลักษณะนี้ไว้ในพอร์ตเป็นเวลานานทำให้เสียโอกาสเติบโต
- ซื้อหุ้นที่เป็นกิจการที่เข้าใจง่าย กำไรต้องเติบโตอย่างแน่นอนและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ROE 15% ขึ้นไป ธุรกิจไม่จำเป็นต้องลงทุนมากเพื่อยอดขายที่เพิ่ม
- ซื้อหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด มักจะมาจากบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่มี brand ที่โดดเด่นระดับโลก
- ผู้บริหารที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
หลักการลงทุนของ เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน
- ในการมองกิจการของบริษัทใดบริษัทหนึ่งอย่างถ่องแท้ ต้องทำความเข้าใจคู่แข่งทั้งในประเทศและนอกประเทศประกอบกัน
- มองหาราคาหุ้นที่ถูกเมื่อเทียบกับมูลค่า
- ช่วงที่คนอื่นแย่งขายหุ้นออกมาจำนวนมาก เป็นเวลาที่ดีในการซื้อหุ้น (เมื่อมีข่าวร้าย) และช่วงที่คนอื่นแย่งกันซื้อหุ้นเป็นเวลาที่ดีในการขายหุ้น (เมื่อมีแต่ข่าวดี)
- ไม่จำกัดตัวเอง มองหาโอกาสอยู่เสมอในการลงทุนทุกที่ในโลก เพราะเงินสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างไร้พรมแดน
- อย่าทำเหมือนคนส่วนใหญ่ เพราะหากทำตามคนส่วนใหญ่ หมายความว่าเราจะได้กำไรหรือผลตอบแทนไม่แตกต่างจากคนอื่น
- เพื่อเป็นการป้องกันเข้าซื้อหุ้นผิดจังหวะ ไม่ควรไล่ซื้อหุ้นที่กำลังเป็นที่นิยม เพราะอาจซื้อไม่ได้ราคาดีที่สุด
- เมื่อเกิดความผิดพลาดต้องเรียนรู้จากความผิดพลาดว่าผิดตรงไหนอย่างไร เช่น ซื้อผิดจังหวะ อ่านธุรกิจผิดพลาด คำนวณผิดพลาด เพื่อหาทางป้องกันในภายหน้า
หลักการลงทุนของจอห์น เนฟฟ์
- มองบริษัทด้วยมุมมองในการทำธุรกิจ เช่น การเติบโตของบริษัท เงินปันผล ความเหมาะสมของราคาหุ้น และวิเคราะห์ทั้งพอร์ตการลงทุนเมื่อเทียบกับภาพรวมตลาด
- เป็นหุ้นที่มีค่าอัตราส่วน PE ต่ำ อัคราเติบโตของกำไรมากกว่า 7% จ่ายปันผลแก่ผู้ถือหุ้นสม่ำเสมอ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ผลตอบแทนที่ได้รับจะต้องสูงกว่าค่า PE เช่น PE = 6 ผลตอบแทนต้องมากกว่า 6%
- เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมขาขึ้น แต่ถ้าบริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมขาลง ค่า PE จะต้องต่ำมากพอที่จะรองรับความเสี่ยง
- พื้นฐานแข็งแกร่ง และมีการเติบโตที่แข็งแกร่ง ต้องวิเคราะห์ไปถึงรายละเอียดในตัวธุรกิจประกอบ
- จังหวะในการซื้อหุ้นที่ดีมักอยู่หลังจากที่คนส่วนใหญ่ตกใจขายหุ้นจำนวนมากแบบไปสนใจราคา
- จังหวะในการขายหุ้นเมื่อพบว่าพื้นฐานเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีกับอนาคต เมื่อราคาขึ้นไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ และติดตามการเติบโตของธุรกิจ 4-5 ปีต่อเนื่อง ถ้าหากมีการถดถอยลงควรพิจารณาขายหุ้นทิ้งไป
หลักการลงทุนของแอนโธนี่ โบลตัน
- เข้าใจความได้เปรียบในการแข่งขันและคุณภาพของบริษัท
- ต้องรู้ฐานะการแข่งขันของบริษัทว่าทำผลกำไรได้ด้วยวิธีใด
- อีก 10 ปีข้างหน้าบริษัทนี้จะยังอยู่หรือไม่? และบริษัทจะมีมูลค่าสูงกว่านี้หรือไม่?
- เข้าใจตัวแปรสำคัญๆที่ผลักดันธุรกิจ
- สนใจธุรกิจที่เข้าใจง่าย มากกว่าธุรกิจที่ซับซ้อน
- ฟังข้อมูลจากผู้บริหารโดยตรง
- หลีกเลี่ยงบริษัทที่มีผู้บริหารที่ไม่ซื่อสัตย์และไม่มีความน่าเชื่อถือในทุกกรณี
- พยายามคิดล้ำหน้ากว่าคนอื่นไปสองก้าว ว่าอะไรที่ถูกมองข้ามในปัจจุบัน
- เข้าใจความเสี่ยงหรืองบการเงินอย่างละเอียด
- เสาะแสวงหาความคิดจากหลายๆแหล่งเพื่อนำมาวิเคราะห์
- ดูการซื้อขายหุ้นของผู้บริหาร ทำไมซื้อหรือขายมาก เพราะอะไร
- ตรวจสอบเหตุผลในการลงทุนทุกระยะ เช่น ทำไมซื้อหุ้นตัวนี้เพราะอะไร
- ลืมต้นทุนไป ราคาเป็นเรื่องจิตวิทยา อย่าใส่ใจกับมันมาก
- ผลงานในอดีตไม่ได้บอกอนาคต
- ใส่ใจกับมูลค่าเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ไม่ใช่ดูแค่เชิงเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น
- สามารถใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นตัวบ่งชี้เพิ่มเติม
- หลีกเลี่ยงการทำนายทิศทางตลาด และการลงทุนเศรษฐกิจมหภาค
- ต้องลงทุนสวนกระแสคนส่วนใหญ่ อย่ามั่นใจสูงเมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูง เวลาที่มวลชนกล้าจะเป็นเวลาที่น่ากลัวที่สุด
มีคำนึงที่ผมจำได้แม่นและเป็นคำพูดที่คิดไปคิดมาก็ดูจะเป็นความจริงระดับนึง นั…
ในช่วง 35 ปีที่ผมนำการลงทุนแบบหุ้นคุณค่ามาปฏิบัติ มันดูเหมือนจะขัดกับลั…