บริษัททำอะไร?
TCB ดำเนินธุรกิจผงเขม่าดำ
ตอนแรกในปี 1978 มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 16,000 ตันต่อปี ปัจจุบันมีกำลังผลิต 240,000 ตันต่อปี
เขม่าดำที่บริษัทผลิตส่วนใหญ่นำไปใช้ผลิตยาง พลาสติกสี หมึกพิมพ์
บริษัทส่งออกไปกว่า 20 ประเทศ ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ
แต่ถึงจะส่งออกไปหลากหลายประเทศ แต่สัดส่วนรายได้ในประเทศไทยอยู่ประมาณ 60%
ผงเขม่าดำคืออะไร?
ผงเขม่าดำเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถทำมาผสมกับยาง ทำให้กายภาพของยางดีขึ้น
ดังนั้นอุตสาหกรรมหลักของผงเขม่าดำนี้ก็จะอิงกับยางเป็นหลัก โดยเฉพาะยางรถยนต์
ส่วนกระบวนการผลิตก็จะมีน้ำมันมาเป็นส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทำให้การขึ้นลงของราคาน้ำมันจึงมีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต
ให้สรุปก็คือ ผงเขม่าดำ เป็น commodity ประเภทหนึ่ง ยิ่งบริษัทยางแข่งขันสูง TCB ยิ่งได้ผลประโยชน์
มาดูผลประกอบการ
- ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น 13.7% YoY
- รายได้เติบโต 45% YoY ถือว่าสูงมาก แปลว่าราคาขายน่าจะได้สูงขึ้นเพราะรายได้โตเยอะกว่าปริมาณขาย
- ต้นทุนขายโตขึ้น 35% YoY โตน้อยกว่ารายได้แปลว่า Margin เพิ่มขึ้นแน่นอน
- GPM เพิ่มขึ้นจาก 17.7% เป็น 25.5% เพิ่มขึ้นสูงมาก ไม่แปลกใจเลยทำไมกำไรโตกระโดด
- เงินปันผล/ดอกเบี้ยรับ/ส่วนแบ่งรายได้จากเงินลงทุน โตขึ้น 200% YoY ตรงนี้ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บริษัทเติบโต
- กำไรสุทธิเติบโตจาก 370 ลบ. เป็น 687 ลบ.
- ถึงจะเป็นประเภท commodity แต่อัตรากำไรสุทธิก็สูงกว่า 30%
บริษัทเติบโตสูง แต่เหตุผลของการเติบโตคืออะไร?
ส่วนของทรัพย์สินรวมของบริษัทมีอยู่ประมาณ 19,000 ลบ. ถ้าเจาะลงไปดูจะพบว่าบริษัทมีเงินลงทุนระยะยาวอยู่ 5,000 กว่าล้านบาท ซึ่งส่วนนี้เป็นแรงสำคัญทำให้กำไรของบริษัทเติบโต
ส่วนทำไมขายผงเขม่ากำไรดี ก็น่าจะมีจากการเป็นขาขึ้นของราคาตลาด
ใครรู้อะไรเพิ่มเติมก็เสริมได้น่ะครับ คือผมก็สงสัยว่า ราคาน้ำมันกำลังขึ้นมาเยอะ ต้นทุนก็น่าจะแพงขึ้น แต่เปล่าเลย บริษัทกลับมี GPM ที่ดีขึ้นด้วยซ้ำ
เรื่องของราคาผงเขม่าสงสัยเหมือนกันว่าปัจจัยที่ทำให้ราคาเพิ่มขึ้นมาจากอะไรบ้างช่วงนี้ แล้วอนาคตถ้าราคามันดี ก็น่าจะมีคนเข้ามาผลิตกันเยอะขึ้น
ราคาหุ้นปัจจุบัน
- P/E (เท่า) 5.59
- อัตราเงินปันผลตอบแทน (%)1.50
- P/BV(เท่า) 1.04
เหมือนจะยังไม่แพง มี P/E เพียง 5 เท่า แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องระวังไว้ว่าหุ้นกลุ่ม commodity นั้นช่วงขาขึ้นจะมี PE ต่ำ เพราะรายได้จะเติบโตขึ้นเยอะผิดปกติ
ถึงแม้จะมี PE ต่ำ แต่อัตราปันผลก็น้อยมาก บริษัทนี้ไม่ค่อยปันผลออกมาเท่าไหร่ ถ้าไปดูอีกหุ้นหนึ่งของกลุ่ม Birla ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทย ก็จะพบหุ้น TR ที่มี PE ต่ำแบบนี้เช่นกัน แต่แทบไม่ค่อยปันผลออกมาเลย
ติดตามแบ่งปันความรู้การลงทุนได้ที่ Investdiary