บริษัท น้ำมันพืชไทย จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจหลักคือดำเนินการเกี่ยวกับผลิตและจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับถั่วเหลืองเป็นหลัก
กำลังผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 6000 ตันต่อวัน มีทั้งหมด 4 โรงงาน ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในภูมิภาคนี้
กระบวนการผลิตหลักๆคือน้ำถั่วเหลืองมาบีบเป็นน้ำมันเพื่อนำไปขายเป็นน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหาร ส่วนกากที่เหลือจากกระบวนการก็สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์
ดังนั้นรายได้หลักของบริษัทก็จะมาจาก 2 ส่วนคือน้ำมันพืชและกากอาหารสัตว์
แต่จริงๆแล้วผลิตภัณฑ์ที่เป็น by product จากถั่วเหลืองยังมีอีกมาก บริษัทก็จัดการส่วนนี้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ตราสินค้าน้ำมันถั่วเหลืองที่เป็นของบริษัท เรารู้จักกันดีในนาม องุ่น ส่วนแบรนด์อื่นๆก็มีได้แก่ Healty chef, Queen ขายที่ต่างประเทศ
ยอดขายของบริษัทเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังจะอยู่ประมาณ 25,000 ลบ.
- กากถั่วเหลือง 63%
- น้ำมันถั่วเหลือง 28%
- ส่งออก 5%
การที่บริษัทต้องผลิตวันละ 6000 ตัน ก็หมายความว่าจะต้องมีวัตถุดิบมาป้อนโรงงานอย่างต่อเนื่อง
แหล่งแรกคือจากภายในประเทศ ซึ่งผลิตถั่วเหลืองต่อปีอยู่เพียง 4 - 5 หมื่นตันต่อปี ในขณะที่บริษัทมีความต้องการมากถึง 1.5 ล้านตันต่อปี
ดังนั้นสิ่งที่บริษัททำคือนำเข้าถั่วเหลืองจาก Brazil รองลงมาคือ USA และ Argentina
มาดูปริมาณส่งถั่วเหลืองทั้งโลกกันบ้าง ปัจจุบันทั่วโลกมีการส่งออกถั่วเหลืองทั้งหมด 150 ล้านตันต่อปี
โดยผู้ส่งออกรายใหญ่สุดคือ Brazil คิดเป็น 46% รองลงมาคือ USA คิดเป็น 39% ของปริมาณส่งออกทั้งหมด
ดังนั้นวัตถุดิบที่บริษัทต้องการมีเพียง 1.5 ล้านตันต่อปี คิดเป็นเพียง 1% ของ supply ทั้งหมดทั่วโลก ความน่ากังวลเรื่องวัตถุดิบจึงไม่เป็นปัญหา
ถ้าพูดถึงน้ำมันพืช เจ้าตลาดในไทยก็มีอยู่ด้วยกัน 2 พันธุ์หลักๆคือ น้ำมันปาล์ม 70% และน้ำมันถั่วเหลือง 24%
และถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลืองในไทย ไม่ว่าจะเป็นสำหรับค้าปลีกหรือภาคอุตสาหกรรม แบรนด์องุ่นก็เป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริง ด้วย Market share 62% ในขณะที่อันดับสองมีอยู่เพียง 23%
ส่วนอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ วัตถุดิบหลักๆก็มาจาก ข้าวโพด มันสัมปะหลัง ปลายข้าว ส่วนกากถั่วเหลืองคิดเป็นสัดส่วน 24% หมายความว่าความจำเป็นกากถั่วเหลืองมีสูงพอสมควร
ดังนั้นความรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะไก่เนื้อและไก่ไข่จะมีผลต่อบริษัทอย่างมาก ในทางกลับกัน ปริมาณผลิตกากถั่วเหลืองก็มีผลเช่นกันกับต้นทุนเลี้ยงสัตว์
แต่เนื่องด้วยวัตถุดิบหลักถั่วเหลืองคิดเป็นต้นทุนกว่า 90% ซึ่งถั่วเหลืองเป็นสินค้า Commodity ที่สมบูรณ์ ดังนั้นความผันผวนของราคาถั่วเหลืองจึงมีผลอย่างมากต่อบริษัท
หลักการโดยคร่าวๆก็คือ หากราคาถั่วเหลืองขึ้น บริษัทก็จะได้กำไรจาก Stock gain เพราะบริษัทต้องซื้อล่วงหน้าก่อนผลิต แต่ในทางกลับกัน หากราคาถั่วเหลืองลง บริษัทก็จะขาดทุน Stock loss
ราคาตลาดของถั่วเหลืองก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ supply เป็นหลัก ส่วน demand นั้นไม่น่าเป็นห่วงเพราะมีอยู่ต่อเนื่อง
หาก supply ถั่วเหลืองลดลงต่ำ ราคาถั่วเหลืองก็ควรจะแพงขึ้น แต่หาก supply ถั่วเหลืองเป็นปกติ ราคาถั่วเหลืองก็จะถูกลง
ดังนั้นปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองของโลกจึงมีผลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวของราคาถั่วเหลือง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศเป็นสำคัญ
ตั้งแต่ต้นปี 2018 เป็นต้นมา มีการคาดการณ์ว่าปริมาณผลิตถั่วเหลืองของ Argentina (ผู้ผลิตอันดับ 3 ของโลก คิดเป็นปริมาณ 19%) จะปรับตัวลดลงจากปีก่อนเนื่องจากภาวะแล้ง
ราคาตลาดของถั่วเหลืองก็ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 13% จากต้นปี เพราะหลายคนก็เข้ามาแย่งกันซื้อ
ส่วนบริษัท TVO เองก็สามารถปรับราคาขายสินค้าขึ้นตามราคาถั่วเหลืองในขณะที่ได้ล้อคต้นทุนถั่วเหลืองไว้ตั้งแต่ปลาย Q4 2017
แต่ก็ต้องเข้าใจต่อว่าถั่วเหลืองของ Argentina ที่ส่งออกจริงๆแล้วคุณภาพไม่ได้ดีมากนัก ดังนั้นถั่วเหลืองส่วนนี้มักจะส่งออกเพื่อทำกากถั่วเหลืองมากกว่า
ราคากากถั่วเหลืองขึ้นมาจากต้นปีกว่า 28% ทำให้ TVO ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากกากถั่วเหลืองจึงมีผลกระทบในเชิงบวกอย่างยิ่ง
กากถั่วเหลืองในไทยนำไปใช้กับการเลี้ยงไก่กว่า 60% ทำให้หากอุตสาหกรรมไก่ไทยเติบโต TVO ก็น่าจะดีไปด้วย
ประเทศไทยเป็นเบอร์ 10 ของโลกในการผลิตไก่ แต่เป็นเบอร์ 4 ของโลกในการส่งออกไก่ ซึ่งไทยเราผลิตเพื่อส่งออกกว่า 40% ของผลผลิตทั้งหมด
อุตสาหกรรมไก่ไทยปีนี้ก็มีข่าวดีอย่างมาก จากที่ประเทศจีนมีการรับรองไก่ไทยเพิ่มขึ้น 7 โรงงาน และเริ่มส่งออกไปแล้วตั้งแต่ 6 มี.ค. 61 ส่วนโรงงานที่ยังไม่รับรองก็น่าจะทะยอยรับรองเพิ่มในปีนี้
ย้อนกลับมาส่วนของน้ำมันถั่วเหลือง จริงๆแล้วน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าที่ทดแทนกันได้ ทำให้หากน้ำมันถั่วเหลืองราคาแพง คนก็จะหันไปใช้น้ำมันปาล์มแทน กลับกันหากน้ำมันถั่วเหลืองถูกกว่า คนก็จะหันกลับมาใช้น้ำมันถั่วเหลือง
ผลผลิตปาล์มของประเทศไทยก็เป็นส่วนสำคัญ หากผลผลิตปาล์มขึ้นสูงก็จะทำให้ราคาน้ำมันปาล์มราคาต่ำ เป็นเหตุผลสำคัญที่จะย้าย demand ของน้ำมันถั่วเหลืองมายังน้ำมันปาล์ม
แต่สินค้าเกษตรเหล่านี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่เราไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นเมื่อมีวัฏจักรขาขึ้นก็จะต้องมาวัฏจักรขาลง เป็นแบบนี้ต่อไป
เรื่องของค่าเงินก็มีผลอย่างมาก เนื่องจากบริษัทเป็นผู้นำเข้า ดังนั้นการแข็งค่าของเงินบาทก็จะทำให้ซื้อสินค้าได้ราคาถูกลง
แต่ค่าเงินไม่ได้มีผลกระทบต่อภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สำหรับประเทศผู้ผลิตเองก็มีผลเช่นกัน
หากจะให้เห็นภาพง่ายๆคือ หากประเทศผู้ผลิตมีค่าเงินแข็ง สินค้าที่ส่งออกจากประเทศนั้นก็จะมีราคาแพงขึ้น หมายความว่าประเทศนำเข้าก็ต้องหาซื้อจากประเทศอื่นแทน และในทางกลับกันค่าเงินอ่อนก็จะมีผลในทางตรงกันข้าม
โดยสรุปแล้ว ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อถั่วเหลืองรวมถึงบริษัทมีมากมายหลายปัจจัยไม่สามารถรู้ทันได้ทุกปัจจัย
แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องรู้มีเพียงไม่กี่ปัจจัยเท่านั้นที่จะมีผลจริงๆ
- Demand กากถั่วเหลืองและน้ำมันถั่วเหลืองยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีการเติบโตขึ้นตามประชากรของโลก ดังนั้นจึงไม่ต้องห่วงส่วนนี้
- การบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองจะมีน้ำมันปาล์มเป็นคู่แข่ง แต่เนื่องจากต้นทุนของทั้งสองประเภทไม่ต่างกันมาก ทำให้วัฏจักรนี้มีขึ้นมีลงสลับกันไป
- การบริโภคของกากถั่วเหลืองก็มาจากอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก หากประเทศไทยเน้นการส่งออกสัตว์ มีการเติบโต บริษัทก็จะได้รับผลดีด้วย
- ค่าเงินบาทแข็ง บริษัทจะมีต้นทุนถั่วเหลืองถูกลง แต่หากบาทอ่อนต้นทุนก็จะสูงขึ้น
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่ภายในบริษัทเองก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
บริษัทมีการพัฒนาและปรับปรุงขั้นตอนการผลิต การเพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งยังมีการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม
และสิ่งที่สำคัญมากคือ บริษัทเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่งของภูมิภาค การที่มีกำลังผลิตขนาดใหญ่ก่อให้เกิด Economy of scale ที่สูง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็ต้องการจะสื่อว่า ถึงแม้ TVO จะมีความเสี่ยงด้านราคาถั่วเหลืองอย่างมาก แต่นี่ก็ไม่ใช่ความเส่ียงจริงๆ เพราะโดยพื้นฐานแล้วสินค้าของบริษัทเป็นที่ต้องการของตลาดและบริษัทก็เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม
ตราบใดที่ความต้องการของถั่วเหลืองยังมีอยู่และไม่มีสินค้าทดแทนได้ บริษัทก็จะยังได้ประโยชน์จากการเติบโตตาม demand ที่เพิ่มขึ้นตามประชากรและนักท่องเที่ยว
..
ลองมาดูผลประกอบการกันบ้าง
รายได้รวม
2557 - 25,731.05 ลบ.
2558 - 26,657.67 ลบ.
2559 - 28,346.91 ลบ.
2560 - 24,805.05 ลบ.
กำไรสุทธิ
2557 - 1,679.46 ลบ.
2558 - 1,902.59 ลบ.
2559 - 2,754.62 ลบ.
2560 - 1,326.76 ลบ.
บริษัทมีรายได้ทรงๆไม่ได้เพิ่มมากหรือลดลงมากนัก แต่สิ่งสำคัญคือกำไรสุทธิผันผวนเป็นอย่างมาก
สำหรับบริษัทประเภทนี้ อัตราส่วนที่เราควรสังเกตุคือ Gross Profit Margin (GPM) เป็นสำคัญ เพราะจะบ่งบอกถึงส่วนต่างระหว่างต้นทุนวัตถุดิบและราคาขาย
หากต้นทุนราคาสูงและปรับราคาขายไม่ได้ GPM ก็จะลดลง แต่หากราคาต้นทุนต่ำลงราคาขายเท่าเดิม GPM ก็จะปรับตัวสูงขึ้น
โดยปกติโรงงานจะมีค่าใช้จ่าย Fix cost ค่อนข้างตายตัวอยู่แล้ว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของ GPM ก็จะส่งผลให้ Net Profit Margin (NPM) เปลี่ยนแปลงเป็นเงาตามตัวเช่นกัน
อีกส่วนหนึ่งคือการดู GPM นั้นจะดูแบบรายปีไม่ได้ เนื่องจากวัฏจักรของถั่วเหลืองจะมีระยะเวลาเพียงเฉล่ีย 1 ปีเท่านั้น ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศของปีนั้นๆ
ดังนั้น GPM จึงต้องอาศัยดูแนวโน้มเป็นรายไตรมาสจะได้ภาพที่ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่ demand ของน้ำมันและกากถั่วเหลืองจะไม่เปลี่ยนแปลงมากนักตลอดปี
หากเราย้อนดู GPM ย้อนหลังไป 10 ไตรมาสจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงดังนั้น 13.0% -> 9.8% -> 12.7% -> 18.8% -> 20.4% -> 12.8% -> 10.4% -> 8.3% -> 11.2% -> 14.7%
เราพอจะเห็นภาพแล้วว่าวัฏจักรของบริษัทนั้นเป็นอย่างไรจากแนวโน้มของ GPM ที่มีการปรับขึ้นหรือลง
ถึงแม้บริษัทจะมีกำไรที่ผันผวนไปตามราคาสินค้าถั่วเหลือง แต่พื้นฐานของบริษัทก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
อัตราส่วน ROE ย้อนหลัง 10 ปี
33.4% -> 25.6% -> 12.8% -> 26.5% -> 14.3% -> 23.5% -> 25.2% -> 32.2% -> 16.2%
อัตราส่วน D/E ย้อนหลัง 10 ปี
0.83 -> 0.70 -> 0.80 -> 0.75 -> 0.60 -> 0.40 -> 0.33 -> 0.25 -> 0.37
เราจะสังเกตุว่าบริษัทถือว่ามี ROE ที่สูงมากกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทอื่นๆ แปลว่าบริษัทมีการทำกำไรที่สูงมาก ในขณะเดียวกันก็มี D/E ที่ต่ำอย่างสม่ำเสมอ
ความหมายก็คือ บริษัทสามารถทำกำไรได้สูงโดยไม่ต้องกู้เลยแม้แต่น้อย ปัจจุบันบริษัทไม่มีเงินกู้ระยะยาวเลย
และสำหรับนักลงทุนที่กลัวความเสี่ยงราคาถั่วเหลืองก็อาจจะไม่ต้องห่วงตรงนี้มาก เพราะ TVO จ่ายปันผลกว่า 80% ของกำไรในแต่ละปี ทำให้อย่างน้อยติดดอยก็ยังมีเงินสดเข้าบัญชีที่ดีมาก
..
โดยสรุปคือบริษัทโดยพื้นฐานมีความมั่นคงอยู่ในระดับสูง ทั้งในมุมของฐานะการเงินและมุมของอนาคตอุตสาหกรรม
แต่สำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสเพิ่มเติมก็สามารถหาได้จาก TVO เช่นกัน โดยราคาถั่วเหลืองนั้นจะเป็นมิตรกับนักลงทุนที่เข้าใจ
นอกจากนี้บริษัทเองก็ยังมีพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการที่บริษัทพยายามส่งออกมาขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยง
ติดตามแบ่งปันความรู้การลงทุนได้ที่ Investdiary